กำลังมองหาอุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และไอเท็มเด็ด ๆ อยู่ใช่หรือไม่ Energy มีให้คุณเลือกมากมายแน่นอน พร้อมเคล็ดลับการเลือกเด็ด ๆ อีกเพียงที่คุณลองเอาไปพิจารณา อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่
{{ # store }} {{ name }} {{ / store }}
ลิสต์ราคา Energy ยอดนิยมปี 2021
10 อันดับสินค้ายอดนิยม | ราคา | ร้านค้า |
---|---|---|
Energy พาวเวอร์แบงค์ T1 12000mAh จ่ายไฟ 2.1A สีดำ ยี่ห้อ สินค้าอย่างดี มาตราฐานพรีเมี่ยม | 329 บาท | Lazada |
Energy สายชาร์จ | 220 บาท | Shopee |
Energy PB-U2-20000 : พาวเวอร์แบงค์ U2 20000mAh จ่ายไฟ 2.1A สีดำและสีขาว- ชนิดแบตเตอรี่ : Lithium Polymer | 595 บาท | Lazada |
Energy Blutooth Model EP-SB04 | 1,200 บาท | Lazada |
Energy สายชาร์จIphone ชาร์จเร็วSpring &Data Sync Cable(สำหรับIphone ทุกรุ่น) | 390 บาท | Shopee |
Energy EPS 12(ส่งฟรี ยกเว้นเขตพิเศษ) | 10,900 บาท | Lazada |
Energy สายชาร์จ FOR MICRO USB | 199 บาท | Lazada |
Energy Charger 2.1A หัวชาร์จสุดแรง ชาร์จไฟเร็ว ADAPTER 1port รุ่น EP-HA17+สายชาร์จ ไมโคร 2.4 A ความยาว 1M | 188 บาท | Lazada |
Energy Adapter Quick charge ชาร์จเร็ว 3.0 / 2.0 หัวชาร์จ 3A + สายชาร์จ MicroUSB Type-C 3.4A | 156 บาท | Lazada |
Energy สายชาร์จเร็วอลูมิเนียม สำหรับแอนดรอยด์(Micro Usb) | 290 บาท | Shopee |
ยอดนิยม Energy พาวเวอร์แบงค์ T1 12000mAh จ่ายไฟ 2.1A สีดำ ยี่ห้อ สินค้าอย่างดี มาตราฐานพรีเมี่ยม
มีให้เลือกที่ Lazada 329 บาท ไปที่ร้านค้า
iPrice ประเทศไทย – นำเสนอสินค้าคุณภาพเยี่ยมมากมายจาก Energy
นานาประเภทของหลอดไฟ
หลอดไฟ เป็นไอเท็มสำคัญที่ทุกครัวเรือนต้องมีติดไว้เลยก็ว่าได้ หากคุณกำลังวางแผนเปลี่ยนหลอดไฟละก็ อย่างแรกที่ควรทำคือ ตรวจสอบขั้วหลอดก่อนว่าคุณกำลังใช้หลอดไฟแบบไหนอยู่ เมื่อทราบรูปแบบของหลอดแล้ว ก็จะสามารถเลือกหลอดไฟใหม่ที่เข้ากันได้ง่าย ๆ แต่ถ้าคุณต้องการติดหลอดไฟเพิ่มละก็ ต้องทราบประเภทของหลอดไฟซะก่อน เพื่อจะได้เลือกมาใช้งานได้ตอบโจทย์ที่สุด ดังนี้
- หลอด LED
- เป็นหลอดไฟคุณภาพจิ๋วแต่แจ๋วที่มีขนาดเล็กพริกขี้หนูกว่าบรรดาหลอดไฟทั้งหมด แต่ให้แสงสว่างชนะเลิศ เป็นหลอดไฟที่ไม่มีไส้และไม่ต้องกังวลกับการOverheatเมื่อเปิดใช้งานนาน ๆ มีอายุการใช้งานที่ยาวกว่าหลอดชนิดอื่นเพราะไม่มีกระบวนการเผาไส้นั่นเอง ในเรื่องของราคาจะถูกหรือแพงสามารถวัดได้จากประเทศผู้ผลิต หากเป็นหลอดที่นำเข้าจากโซนยุโรปจะมีราคาแพงกว่าหลอดที่นำเข้าจากโซนเอเชียด้วยกัน
- หลอดไส้
- คือประเภทที่เราคุ้นตาเป็นอย่างดี เพราะเป็นหลอดไฟที่ถูกผลิตมารุ่นแรก ๆ และยังนิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีข้อเสียคือกินไฟค่อนข้างมาก เพราะสมัยก่อนหลอดประหยัดไฟยังไม่ถูกคิดค้นขึ้นนั่นเอง ที่สำคัญยังเกิดความร้อนได้เร็วจึงต้องปิดพักหลอดบ่อย ๆ ใน 1 หลอดจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง ผลิตออกมาให้เลือกหลายวัตต์ เช่น 3, 25, 40และ 100 เป็นต้น ออกแบบมาให้สามารถใช้คู่กับขั้วE14หรือE27ได้เท่านั้น ในตระกูลหลอดไส้ด้วยกันจะมีสมาชิกของหลอดที่มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันออกไป ได้แก่ หลอดจำปาหรือหลอดเทียน นิยมใช้ประดับโคมไฟเพื่อความสวยงาม เช่น โคมช่อ, โคมระย้า และโคมแชนเดอเลียร์ เป็นต้น,หลอดหัวปิงปอง สามารถให้แสงสว่างได้รอบด้าน ใช้กับโคมไฟขนาดเล็ก มีให้เลือก 2 จำนวนวัตต์ คือ 25 และ 40,หลอดอาร์ 63 หรือ 80ให้ความสว่างน้อย เน้นการใช้งานเฉพาะจุดเท่านั้น ออกแบบมาให้เลือกทั้งแบบฝ้า และแบบเคลือบปรอท มีกำลังไฟ 3 ขนาด คือ 40, 60 และ 100 วัตต์ นิยมใช้เพื่อให้แสงสว่างบนหัวเตียง,หลอดมินิมัชรูมหรือหลอดดอกเห็ด ตัวหลอดออกแบบให้ฉายแสงกระจายขึ้นด้านบน มีขนาดวัตต์ให้เลือก คือ 25, 40, 60และ 100 วัตต์ นิยมใช้ติดเพื่อการแสดงโชว์สินค้า ติดโคมไฟ หรือตกแต่งสถานที่ และหลอดพาร์ 38 หรือหลอดไส้สะท้อนแสงกระจกหนา เป็นหลอดไฟสำหรับให้แสงเอฟเฟ็กต์ มีหลายโทนสีให้เลือก เช่น สีขาว, สีเขียว และสีน้ำเงิน เป็นต้น มีอายุการใช้งานยาวนาน หน้าหลอดครอบทับด้วยกระจกหนากันละอองน้ำ สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีกำลังไฟ 2 ขนาด คือ 80 และ 120 วัตต์
- หลอดฮาโลเจน
- มีกลไกการทำงานคล้าย ๆ หลอดไส้ คือกระแสไฟจะผ่านตัวไส้ที่ทำจากทังสเตนก่อน เมื่อเผาจนร้อนแล้วจึงปล่อยแสงออกมา ต่างกับหลอดไส้ตรงที่ภายในจะบรรจุก๊าซไอโอดีนคลอรีน ซึ่งมีคุณสมบัติยืดอายุการใช้งานได้นานกว่าหลอดไส้ นิยมใช้ติดโคมไฟเพื่อการตกแต่งให้วัตถุดูน่ามองมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องประดับ, ภาพวาด และเสื้อผ้า เป็นต้น สำหรับหลอดไฟประเภทนี้ก็สามารถแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ อีก 2 ประเภทด้วยกัน คือ หลอดฮาโลเจนแรงดันต่ำ ที่ใช้กับไฟขนาด 12Vหากจะใช้กับไฟบ้านต้องมีหม้อแปลงเข้ามาแปลงแรงดันของไฟก่อน เพราะไฟบ้านมีแรงดัน 220V อีกประเภทคือ หลอดฮาโลเจนแรงดันทั่วไป สามารถใช้ได้กับแรงดันไฟ 230V โดยต่อตรงกับไฟบ้านได้เลย
- หลอดฟลูออเรสเซนส์ หรือหลอดนีออน
- นิยมใช้ให้แสงสว่างทั้งภายในและนอกบ้าน มีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ และหลอดฮาโลเจน นอกจากนั้นยังมีหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนส์ ที่ได้รับการพัฒนามาจากหลอดไส้เพื่อให้กินไฟน้อยลง แถมยังมีกำลังไฟส่องสว่างมากกว่า มีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ เช่น หลอดตะเกียบ, หลอดเกลียว และหลอดทอร์นาโด เป็นต้น อีกหนึ่งข้อดีของหลอดชนิดนี้คือ สามารถใช้งานกับขั้วต่อของหลอดไส้ได้ แต่ก็ต้องมีจำนวนวัตต์ที่เท่ากันหรือน้อยกว่า นิยมใช้งานในบ้านเพื่อให้แสงสว่างทั่วไป มีอายุการใช้งานกว่าหลอดไส้ 8 เท่า และยาวนานกว่าหลอดนีออนถึง 4 เท่า