iPriceศึกษาประวัติผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จจนได้รับทุนระดับSeries Aขึ้นไป
บริษัทสตาร์ทอัพคือบริษัทที่ได้รับการออกแบบให้มีธุรกิจโมเดลที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว กล่าวคือมีวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ และที่สำคัญมีเทคโลยีที่ทันสมัยและสามารถช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทสตาร์ทอัพจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในปัจจุบัน จนทำให้ธุรกิจต่างๆต้องจับตามองว่าบริษัทสตาร์ทอัพเหล่านี้จะได้มาเปลี่ยนแวดวงธุรกิจไปในทิศทางใด
บริษัทสตาร์ทอัพสามารถดำเนินธุรกิจโดยการระดมทุนจาก Investor โดยระดับการระดมทุนเริ่มตั้งแต่ Angel, Venture Capital, Seed Funding ซึ่งทั้งสามรูปแบบทุนนี้อยู่ในระดับเดียวกัน คือเป็นการระดมทุนในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ
สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพที่สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดีแต่ขาดเงินสนับสนุน ก็จำเป็นต้องระดมทุนในระดับต่อไปซึ่งการระดมในขั้นต่อไปแบ่งเป็นหลายระดับ เช่น Series A, Series B, Series C เป็นต้น ซึ่งแต่ละระดับมีจำนวนเงินทุนและเป้าหมายของการะดมทุนที่ต่างกันออกไป โดยมีบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมากที่ต้องปิดธุรกิจออกจากตลาดไปเนื่องจากสินค้าและบริการไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้นบริษัทสตาร์ทอัพที่ได้รับ Series A ขึ้นไปถือเป็นบริษัทที่ดำเนินไปด้วยดีและมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
บริษัทiPriceเป็นหนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จและทำตลาดใน7ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมมือกับบริษัทDMPซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนเห็นถึงความเชื่อนี้ของคนไทยจึงได้ศึกษาประวัติการศึกษาของเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จและพบผลการศึกษาดังต่อไปนี้
จากการศึกษาสตาร์ทอัพ 33บริษัทในประเทศไทยและผู้ก่อตั้งจำนวน66คน(ข้อมูลการศึกษามีเพียง50คน)พบว่าผู้ก่อตั้งชาวไทย15คนจบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(5คนจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์), 6คนจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 4คนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3คนจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ2คนจากการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบัง
นอกจากผู้ก่อตั้งชาวไทยแล้ว ประเทศไทยยังมีผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพชาวต่างชาติที่เข้ามาสร้างบริษัทสตาร์ทอัพกว่า 19คน ซึ่งมาจากหลายประเทศทั่วโลกและจบจากมหาวิทยาลัยและสาขาวิชาที่ต่างกัน
จำแนกตามสาขาวิชาที่เหล่าผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพจบการศึกษา 7คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, 9คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและการจัดการ, 13คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรม, 14คนจบการศึกษาจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ และ6คนที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาอื่น ๆ
นอกจากความเชื่อข้างต้นแล้ว คนไทยบางกลุ่มเชื่อว่าการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป (ปริญญาโทและMBA)นั้นจะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและที่สำคัญสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมามาต่อยอดสำหรับธุรกิจต่อไป จากการศึกษาพบว่ามีผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ21คนที่เข้าศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป กล่าวคือจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศไทยนั้นสามารถนำการศึกษาในชั้นปริญญาตรีมาปรับใช้ให้ธุรกิจของพวกเขาประสบความสำเร็จ
ตัวเลขที่ปรากฏในการศึกษาครั้งนี้ไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จแต่อย่างใด ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นใคร จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยใด หรือจบการศึกษาจากคณะสาขาวิชาอะไร ทุกคนล้วนแต่สามารถประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจได้ไม่ต่างกัน ผู้ก่อตั้งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่นำวิชาความรู้ที่พวกเขาได้ร่ำเรียนมามาปรับใช้และเปิดเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ต่อผู้บริโภคในอุตสหกรรมที่พวกเขาสนใจ คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่ว่าจะเรียนจบสาขาอะไร ก็สามารถนำความรู้มาต่อยอดเป็นธุรกิจได้ทั้งนั้น เพียงแต่ต้องมองหาโอกาสทางธุรกิจหรือพยายามแก้ปัญหาของผู้บริโภคที่ยังไม่มีธุรกิจใดเข้ามาตอบโจทย์
ขั้นตอนการศึกษา
- เก็บข้อมูลบริษัทสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จโดยวัดจากการได้รับทุนระดับ Series Aขึ้นไป
- ข้อมูลประวัติและการศึกษาของผู้ก่อตั้งมาจาก Linkedinส่วนตัวและสัมภาษณ์ตามสื่อต่างๆ
- ข้อมูลของผู้ก่อตั้งที่มีในการค้นหาออนไลน์มีเพียง 50ท่านเท่านั้น
ข้อมูลผู้ก่อตั้งในประเทศไทยแบบละเอียด
ลิงค์ข้อมูล : คลิ๊ก